บริษัทส่งไปเรียน
บริษัทจัด internal training
อยากเรียนรู้ด้วยตัวเองจึงไปลงเรียนเอง
.
ตอนเรียนสนุกมาก รู้เรื่องมาก WOW มากกกกก
อะไรมันจะง่ายดาย แค่ทำตามขั้นตอน
ปัญหาที่แก้ไม่ได้ก็แก้ได้ อะไรที่คิดไม่ออกก็คิดออกซะงั้นเลย!!!!!
ไอเดียเต็มไปหมดเวลาอยู่ใน workshop
ตั้งใจเหลือเกินว่าจะเอากลับไปใช้ในการทำงาน
.
ตัดภาพมาที่ที่ทำงาน
ไฟที่เคยลุกโชนมันมอดหายไปไหนกันหมด!!!!!
.
.
นี่คือสิ่งที่พวกเราได้ยินคนมาปรึกษา มาเล่าให้ฟัง มาถาม โดยตลอด
.
คำตอบจากประสบการณ์ของพวกเราก็คือ ต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่คุณจะเรียนรู้จากการอบรมมี 2 ส่วน
- กระบวนการ ขั้นตอน และเครื่องมือ ตัวอย่างการคิด มองปัญหาแบบใหม่ๆ
- วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น แบบทุกความเห็นเท่ากัน รับฟังและทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง
การนำมาใช้ เราต้องมีทั้งกระบวนการ ความรู้ และต้องมีวิธีการทำงานของมันอีกด้วย
หากจะนำกระบวนการ design thinking มาทำงานบน culture เดิมๆ
เปิดห้องประชุม มีหัวโต๊ะที่มีเสียงใหญ่สุดคุมอยู่ ให้ตายยังไงก็ทำไม่ได้
นี่คือสิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนว่า 2 องค์ประกอบนี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้
หากคุณคิดว่า โอเค 2 ข้อนั้น เข้าใจแล้วและระลึกไว้เสมอ
จะเอามาปรับเปลี่ยนการทำงานละ คุณอาจจะเจอปัญหาดังนี้
“เราไปเรียนมา แต่คนอื่นไม่ได้ไปด้วย แค่คิดว่าต้องconvince ก็เหนื่อยแล้ว”
“มันดีมากเลย อยากให้เกิดขึ้นในบริษัท แต่นายไม่เอาด้วย”
อันนี้มักเกิดจากการที่ส่งตัวเองออกมาเรียน แล้วอยากให้เกิดขึ้นในบริษัท
ซึ่งต้องไปบอกนายให้ส่งเสริม สนับสนุน
ถ้าเจอนายที่ mindset ไม่ได้ เราขอเตือนไว้ก่อนว่า mindset คือสิ่งที่เปลี่ยนอยากที่สุด
และก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็น value ของ design thinking
“งานด่วนเกินไปที่จะใช้ต้องทำแล้วต้องเสร็จเมื่อวาน!!!”
ต้องคิดก่อนทำเนี่ยเป็นไปไม่ได้ ทำแล้วค่อยคิดนี่คือปกติของเรา
อันนี้ก็อย่าเอา design thinking เข้าไปเลย เสียเวลาเปล่าๆทั้งคุณเองและ project เอง
พวกเราเห็นมาเยอะแล้ว อะไรที่รีบก็รีบๆไปเถอะ อย่าพยายามเอา design thinking เข้าไปใช้
เพราะจะพังทั้ง project และพังทั้งอนาคตของ design thinking ในองค์กร คนจะรับรู้ว่ามันไม่เวิร์คไปโดยปริยาย
.
.
ส่วนอีกปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นอยู่กับตัวคนเอาไปใช้เองนั่นก็คือ
“กระบวนการที่ทำใน workshop มา พอเอามาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานจริง ทำไมมันไม่เหมือนกันเลย”
มันมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายและปัญหามันก็ไม่เหมือนกัน
เอาวิธีการที่เรียนมามาใช้ ไม่ง่ายเลย
แน่นอนนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าใครเรียนมาแล้วหยิบกระบวนการทั้งหมดเอาไปทำงานได้อย่างราบรื่น
นั่นแปลว่าคุณไมไ่ด้ประโยชน์อะไรจากกระบวนการนั้นหรอก แต่คุณกำลังยัดสิ่งที่คุณคิดให้ลงไปในกระบวนการให้ได้ต่างหาก
การใช้ design thinking ในการทำงาน เหมือนกับวิชาความรู้หลายๆศาสตร์ที่ต้องเปลี่ยนความรู้มาเป็นทักษะให้ได้ (knowledge > skill set) พูดง่ายๆก็คือทำมันให้ชำนาญให้ได้ก่อน ซึ่งคำว่าชำนาญในที่นี้ เราแอบอยากบอกว่า มันไม่ใช่ความชำนาญในการใช้เครื่องมือนะ แต่มันคิดความชำนาญในการมองปัญหา ชำนาญในวิธีคิด โดยทำมันผ่านเครื่องมือ แปลให้ง่ายก็คือใช้เครื่องมืออย่างเข้าใจ ไม่ใช่เอาแต่ว่าเอาเครื่องมือมากรอกข้อมูลลงไป…ปิ๊ง ได้คำตอบ (มันไม่มีอะไรแบบนี้หรอก ไม่งั้นใครเรียน design thinking จบไปก็เป็นเทพกันหมดพอดี) คุณต้องหมั่นใช้มันบ่อยๆ ทำผิดทำถูก ขอให้ใช้ และคิดประมวลผลมันเรื่อยๆว่าอะไรที่ดีอะไรที่ไม่ดี เราจะพัฒนาอย่างไร นี่แหละคือกระบวนการการเปลี่ยน knowledge ให้เป็น skill set อย่างแท้จริง
หลังจากที่เรามี skill set แล้วนั้น สิ่งที่จะไปต่อก็คือการเปลี่ยน skill set ให้เป็น tool set ในที่นี้หมายถึงว่าไม่ใช่แค่คุณรู้ว่าจะใช้เครื่องมืออย่างไร แต่คุณสามารถที่จะออกแบบเครื่องมือเองได้
…. เราเรียนกระบวนการ design thinking มาตลอดการเรียนปริญญาตรี เราก็เหมือนมีแค่ knowledge แต่ skill set และ tool set นั้น มาพัฒนาจนประกอบร่างในการทำงานจริง อาจจะพัฒนาได้เร็วตรงที่เราสะสม knowledge มานาน มีข้อสงสัยที่รอการปฏิบัติเพื่อตอบคำถามเยอะ ….
หากถามพวกเราว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการใช้ design thinking คืออะไร
พวกเราจะตอบว่า มันคือความสามารถที่จะออกแบบกระบวนการได้ ออกแบบเครื่องมือที่ควรต้องใช้ในการ tackle ปัญหานั้นๆได้อย่างเชี่ยวชาญ มองออกว่าต้องจัดการปัญหานั้นอย่างไรมากกว่า
.
.
สำหรับปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด
เวลาลูกค้าถาม พวกเราจะแนะนำว่า
“อันดับแรก ผู้นำต้องเอาด้วยก่อน ไม่อย่างนั้นจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้เลย”
หากต้องการให้เกิดการใช้ design thinking ขึ้นในองค์กรจริงๆ
อย่าคาดหวัง ว่าจะเปลี่ยนทั้งองค์กรไปได้ในทีเดียว
และต้องเริ่มการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ว่านี้ก็คือ เริ่มให้เล็ก
เริ่มกับโปรเจคเล็กๆ กับทีมเล็กๆ แล้วค่อยๆสร้าง success cases
เอาไว้ proof สิ่งที่เราเชื่อ ค่อยๆดึงคนที่สนใจให้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมทีมไปกับเรา
เราเองก็มีสิทธิ์ที่จะค่อยๆเรียนรู้และเติบโตไปกับ project เช่นกัน
.
อย่ารีบ แต่ก็อย่าปล่อยให้มันเติบโตอย่างไรทิศทางและการวางแผน
เพราะนั่นเท่ากับว่าเราทำงานแบบเดิมๆ
การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา
และถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีวันที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง