Month: January 2020

Design Thinking / Service Design แล้ว (หาย) ไปไหน

Posted on by Tanatta Koshihadej

บริษัทส่งไปเรียน
บริษัทจัด internal training

อยากเรียนรู้ด้วยตัวเองจึงไปลงเรียนเอง
.
ตอนเรียนสนุกมาก รู้เรื่องมาก WOW มากกกกก

อะไรมันจะง่ายดาย แค่ทำตามขั้นตอน

ปัญหาที่แก้ไม่ได้ก็แก้ได้ อะไรที่คิดไม่ออกก็คิดออกซะงั้นเลย!!!!!

ไอเดียเต็มไปหมดเวลาอยู่ใน workshop

ตั้งใจเหลือเกินว่าจะเอากลับไปใช้ในการทำงาน
.
ตัดภาพมาที่ที่ทำงาน
ไฟที่เคยลุกโชนมันมอดหายไปไหนกันหมด!!!!!
.
.
นี่คือสิ่งที่พวกเราได้ยินคนมาปรึกษา มาเล่าให้ฟัง มาถาม โดยตลอด
.
คำตอบจากประสบการณ์ของพวกเราก็คือ ต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่คุณจะเรียนรู้จากการอบรมมี 2 ส่วน

  1.  กระบวนการ ขั้นตอน และเครื่องมือ ตัวอย่างการคิด มองปัญหาแบบใหม่ๆ
  2. วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น แบบทุกความเห็นเท่ากัน รับฟังและทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง

การนำมาใช้ เราต้องมีทั้งกระบวนการ ความรู้ และต้องมีวิธีการทำงานของมันอีกด้วย

หากจะนำกระบวนการ design thinking มาทำงานบน culture เดิมๆ

เปิดห้องประชุม มีหัวโต๊ะที่มีเสียงใหญ่สุดคุมอยู่ ให้ตายยังไงก็ทำไม่ได้

นี่คือสิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนว่า 2 องค์ประกอบนี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้

หากคุณคิดว่า โอเค 2 ข้อนั้น เข้าใจแล้วและระลึกไว้เสมอ

จะเอามาปรับเปลี่ยนการทำงานละ คุณอาจจะเจอปัญหาดังนี้

เราไปเรียนมา แต่คนอื่นไม่ได้ไปด้วย แค่คิดว่าต้องconvince ก็เหนื่อยแล้ว”

มันดีมากเลย อยากให้เกิดขึ้นในบริษัท แต่นายไม่เอาด้วย”

อันนี้มักเกิดจากการที่ส่งตัวเองออกมาเรียน แล้วอยากให้เกิดขึ้นในบริษัท

ซึ่งต้องไปบอกนายให้ส่งเสริม สนับสนุน

ถ้าเจอนายที่ mindset ไม่ได้ เราขอเตือนไว้ก่อนว่า mindset คือสิ่งที่เปลี่ยนอยากที่สุด

และก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็น value ของ design thinking

งานด่วนเกินไปที่จะใช้ต้องทำแล้วต้องเสร็จเมื่อวาน!!!”

ต้องคิดก่อนทำเนี่ยเป็นไปไม่ได้ ทำแล้วค่อยคิดนี่คือปกติของเรา

อันนี้ก็อย่าเอา design thinking เข้าไปเลย เสียเวลาเปล่าๆทั้งคุณเองและ project เอง

พวกเราเห็นมาเยอะแล้ว อะไรที่รีบก็รีบๆไปเถอะ อย่าพยายามเอา design thinking เข้าไปใช้

เพราะจะพังทั้ง project และพังทั้งอนาคตของ design thinking ในองค์กร คนจะรับรู้ว่ามันไม่เวิร์คไปโดยปริยาย
.
.
ส่วนอีกปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นอยู่กับตัวคนเอาไปใช้เองนั่นก็คือ

“กระบวนการที่ทำใน workshop มา พอเอามาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานจริง ทำไมมันไม่เหมือนกันเลย”

มันมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายและปัญหามันก็ไม่เหมือนกัน

เอาวิธีการที่เรียนมามาใช้ ไม่ง่ายเลย

แน่นอนนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าใครเรียนมาแล้วหยิบกระบวนการทั้งหมดเอาไปทำงานได้อย่างราบรื่น

นั่นแปลว่าคุณไมไ่ด้ประโยชน์อะไรจากกระบวนการนั้นหรอก แต่คุณกำลังยัดสิ่งที่คุณคิดให้ลงไปในกระบวนการให้ได้ต่างหาก

การใช้ design thinking ในการทำงาน เหมือนกับวิชาความรู้หลายๆศาสตร์ที่ต้องเปลี่ยนความรู้มาเป็นทักษะให้ได้ (knowledge > skill set) พูดง่ายๆก็คือทำมันให้ชำนาญให้ได้ก่อน ซึ่งคำว่าชำนาญในที่นี้ เราแอบอยากบอกว่า มันไม่ใช่ความชำนาญในการใช้เครื่องมือนะ แต่มันคิดความชำนาญในการมองปัญหา ชำนาญในวิธีคิด โดยทำมันผ่านเครื่องมือ แปลให้ง่ายก็คือใช้เครื่องมืออย่างเข้าใจ ไม่ใช่เอาแต่ว่าเอาเครื่องมือมากรอกข้อมูลลงไป…ปิ๊ง ได้คำตอบ (มันไม่มีอะไรแบบนี้หรอก ไม่งั้นใครเรียน design thinking จบไปก็เป็นเทพกันหมดพอดี) คุณต้องหมั่นใช้มันบ่อยๆ ทำผิดทำถูก ขอให้ใช้ และคิดประมวลผลมันเรื่อยๆว่าอะไรที่ดีอะไรที่ไม่ดี เราจะพัฒนาอย่างไร นี่แหละคือกระบวนการการเปลี่ยน knowledge ให้เป็น skill set อย่างแท้จริง

หลังจากที่เรามี skill set แล้วนั้น สิ่งที่จะไปต่อก็คือการเปลี่ยน skill set ให้เป็น tool set ในที่นี้หมายถึงว่าไม่ใช่แค่คุณรู้ว่าจะใช้เครื่องมืออย่างไร แต่คุณสามารถที่จะออกแบบเครื่องมือเองได้

…. เราเรียนกระบวนการ design thinking มาตลอดการเรียนปริญญาตรี เราก็เหมือนมีแค่ knowledge แต่ skill set และ tool set นั้น มาพัฒนาจนประกอบร่างในการทำงานจริง อาจจะพัฒนาได้เร็วตรงที่เราสะสม knowledge มานาน มีข้อสงสัยที่รอการปฏิบัติเพื่อตอบคำถามเยอะ ….

หากถามพวกเราว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการใช้ design thinking คืออะไร
พวกเราจะตอบว่า มันคือความสามารถที่จะออกแบบกระบวนการได้ ออกแบบเครื่องมือที่ควรต้องใช้ในการ tackle ปัญหานั้นๆได้อย่างเชี่ยวชาญ มองออกว่าต้องจัดการปัญหานั้นอย่างไรมากกว่า
.
.
สำหรับปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด

เวลาลูกค้าถาม พวกเราจะแนะนำว่า

“อันดับแรก ผู้นำต้องเอาด้วยก่อน ไม่อย่างนั้นจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้เลย”

หากต้องการให้เกิดการใช้ design thinking ขึ้นในองค์กรจริงๆ

อย่าคาดหวัง ว่าจะเปลี่ยนทั้งองค์กรไปได้ในทีเดียว

และต้องเริ่มการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ว่านี้ก็คือ เริ่มให้เล็ก

เริ่มกับโปรเจคเล็กๆ กับทีมเล็กๆ แล้วค่อยๆสร้าง success cases

เอาไว้ proof สิ่งที่เราเชื่อ ค่อยๆดึงคนที่สนใจให้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมทีมไปกับเรา

เราเองก็มีสิทธิ์ที่จะค่อยๆเรียนรู้และเติบโตไปกับ project เช่นกัน
.
อย่ารีบ แต่ก็อย่าปล่อยให้มันเติบโตอย่างไรทิศทางและการวางแผน

เพราะนั่นเท่ากับว่าเราทำงานแบบเดิมๆ

การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา

และถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีวันที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง

Design Thinking มาจากไหน แล้วทำไมใครๆ ก็พูดถึงจัง

Posted on by Tanatta Koshihadej

Design Thinking มาจากไหน แล้วทำไมใครๆ ก็พูดถึงจัง
.
.
หลายๆ คนคงได้ยินคำว่า Design Thinking เยอะแยะไปหมด ไปที่ไหนก็มีแต่อบรมเรื่องนี้ บรรยายเรื่องนี้จนอาจจะเอียนกันไปบ้าง

วันนี้เราจะมาแชร์ให้ฟังว่าที่มาที่ไปของศาสตร์นี้มาจากไหนกันแน่ แล้วทำไมมันถึงเป็นที่พูดถึงกันในวงการธุรกิจจังเลย
.

รู้หรือไม่ว่า Design Thinking เป็นศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมๆ กับ Industrial Design
ได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อประมาณปี 1959 จากหนังสือ Creative Engineering
โดย John E. Arnold และถูกนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม (Industrial Design)

ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ครั้งที่เราเริ่มมีระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า เหล็ก และ พลาสติกเข้ามาในระบบอุตสาหกรรม
ทำให้เราสามารถผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตเราได้ในจำนวนมากขึ้นอย่างมหาศาลในเวลาอันน้อยนิด

ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้ต้นทุนของของต่างๆ มีราคาต่ำมาก คนมากมายสามารถมีโอกาสเข้าถึงสินค้าที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นได้อย่างง่ายดาย
(หากเปรียบเทียบในตอนนี้ก็คงเหมือน การที่ Internet ถูกลงมากและทำให้คนแทบทุกระดับเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมันได้)

การที่จะได้สินค้าต่อชิ้นในราคาถูกได้นั้น มีข้อแม้อยู่ว่าต้องทำการผลิตของที่หน้าตาเหมือนกันจำนวนมากๆ
เพราะตัวแม่พิมพ์นั้นราคาสูงเป็นหลักล้าน

ดังนั้นเจ้าของสินค้านั้นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมั่นใจก่อนที่จะผลิตอะไรก็ตามออกมาได้ว่า ถ้าผลิตออกมาจำนวนมากแล้วนั้น จะมีคนจำนวนมากเช่นกันที่ต้องการซื้อและใช้สินค้าเหล่านั้น

และ Design Thinking นี้เอง คือกระบวนการและเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถเข้าไปเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของคนจำนวนมากได้ เพื่อที่จะผลิตของให้ออกมาตรงความต้องการกับคนจำนวนมาก พูดง่ายๆก็คือขายได้ ทำกำไรได้นั่นเอง

IDEO คือบริษัทแรกๆ ที่นำ Design Thinking มาใช้ในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัทต่างๆ ที่มาเป็นลูกค้า โดยผลงานที่จะยกตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ง่ายๆไม่ซับซ้อน คือ การออกแบบแปรงสีฟันสำหรับเด็กให้แก่ Oral-B เมื่อปี 1996 ถ้าเราคิดเร็วๆ ว่าแปรงสีฟันเด็กควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราก็คงได้แปรงสีฟันผู้ใหญ่ย่อ Size มาขายในท้องตลาด

แต่ด้วยกระบวนการการออกแบบ Design Thinking ทำให้เราต้องไปทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานอย่างถ่องแท้ก่อน จึงจะออกแบบสิ่งที่ตอบโจทย์นั้นได้จริงๆ ทำให้เมื่อทีมของ IDEO ไปสำรวจกับเด็กๆ แล้ว พบว่ากล้ามเนื้อมือของเด็กยังไม่พัฒนาพอที่จะจับแปรงได้เหมือนที่ผู้ใหญ่จับ การย่อขนาดแปรงลงมาไม่ใช่สิ่งที่ควรทำแน่นอน


“การเก็บข้อมูลในกระบวนการ Design Thinking นั้น คือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่ใช่เชิงปริมาณ เพื่อการเข้าใจเหตุผลของพฤติกรรมและความต้องการได้อย่างแท้จริง และไม่ได้เกิดจากการไปพูดคุยกับผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดจากการเข้าไปทำความเข้าใจด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งพูดคุย สอบถาม เฝ้าสังเกต ตั้งคำถามในพฤติกรรมหรือประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ”

สุดท้าย IDEO ได้ออกแบบแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีด้ามจับขนาดใหญ่เพื่อให้เด็กใช้กำทั้งมือแทนที่จะใช้นิ้วโป้งเป็นตัวบังคับเหมือนของผู้ใหญ่ และมีสีสันลวดลายที่ดึงดูดเด็กๆ ให้อยากใช้อยากแปรง ทำให้ Oral-B ขายแปรงสีฟันสำหรับเด็กนี้เป็นอันดับ 1 ของตลาด กินมายาวๆ เพราะการเข้าใจผู้ใช้งานที่มากกว่า


“Design Thinking เป็นที่พูดถึงกันว่าเป็น
Systematic Method for Designer และเป็น Creative Engineering

“Industrial Design เป็นศาสตร์ของการออกแบบที่อยู่ระหว่างศิลปะและวิศวกรรม ต้องมีศิลปะในเรื่องมุมมองของความสวยงาม รื่นรมย์ น่าใช้ ของผู้ใช้ ในขณะเดียวกันผู้ออกแบบก็ต้องเข้าใจการผลิตในระดับอุตสาหกรรมให้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิชานี้เปรียบเสมือนวิชาหลักที่นักศึกษาทุกคนจะต้องได้เรียนในภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม”

และสาเหตุที่ทำให้ Design Thinking เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายก็เพราะหนึ่งใน Founder ของ IDEO คือ David Kelley ได้นำ Design Thinking ไปเปิด D.school ใน Stanford University ด้วยความตั้งใจที่จะให้นักศึกษามีมุมมองที่ Creative และมีความเข้าใจผู้ใช้งานที่จะมาใช้สิ่งที่ตนกำลังจะออกแบบ

เมื่อนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์เหล่านี้จบปริญญาโทออกมา และได้เข้าเรียนวิชาเลือกใน D.school แน่นอนว่ามากกว่าครึ่งก็ไปเติบโตในสายงานบริหาร เพราะเป็นศาสตร์วิชาแห่งการจัดการ คิดเป็นระบบ ทำให้มีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรได้ดี เมื่อคนเหล่านั้นไปทำงานบริหาร ก็นำเอาวิธีคิดวิธีการ Design Thinking ไปใช้ในการทำงาน และทำให้เกิดการทำงานหรือมุมมองใหม่ๆ ให้กับภาคธุรกิจ จนเกิดเป็นความเคลื่อนไหวว่าศาสตร์ๆ นี้คืออะไร ทำอย่างไร มีวิธีการคิดให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่จะตรงกับความต้องการของคน เข้าใจคนได้อย่างไร

ในขณะที่ Design Thinking ขยายตัวเข้าสู่ภาคธุรกิจมากขึ้นๆ จากการผลิดอกออกผลจากผลผลิตจาก D.school ทางสาย Industrial / Product Design ก็ถูกพัฒนาไปเป็น การออกแบบบริการ และอื่นๆ  เห็นได้จากการที่ตอนนี้บริษัท  IDEO ไม่ได้ออกแบบเพียงแค่ Consumer Product แล้ว แต่พัฒนาไปสู่  Consumer Experience ตั้งแต่ปี 2001 และปัจจุบันได้แตก Service ของบริษัทออกไปอีกมากมายเช่น Branding, Business Design, Communication Design, ไปจนถึง Organizational Design และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะทุกอย่างมีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องเดียวกัน คือมีผู้ใช้ และ Design Thinking คือการเข้าใจผู้ใช้ สุดท้ายแล้วผลมันจะออกมาเป็นอะไรก็ได้
.
.

ไว้ครั้งหน้า พวกเราจะมาแชร์ให้ฟัง ว่า Service Design และ Design Thinking มันเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง แล้วมันเหมือนมันต่างกันอย่างไรนะคะ