Month: August 2020

ทำไมเราต้องมี service evidence หรือ หลักฐานการบริการ

Posted on by Tanatta Koshihadej

 – Service Evidence คืออะไร ? –

เพราะงานบริการเป็นของจับต้องไม่ได้ การสร้างหลักฐานของงานบริการจึงสำคัญ

service evidence มีขึ้นเพื่อให้รู้ว่ามีบริการนั้น ๆ เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้รับบริการรู้สึก มั่นใจ เชื่อใจ ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นมีหลักฐานอะไรบางอย่างที่มองเห็นได้ ใช้แสดงเป็นหลักฐานในการใช้บริการนั้น ๆ ได้

หากไม่มีตั๋วเครื่องบิน ตั๋วคอนเสิร์ต ใบเสร็จรับเงิน ใบนัด เราคงไม่แน่ใจว่าเงินที่เราจ่ายไปนั้น เราจะได้บริการที่เราซื้อไปหรือไม่ นี่น่าจะเป็นตัวอย่างและอธิบายคำว่า service evidence ได้เข้าใจง่ายขึ้น service evidence เป็นเหมือนเป็นหลักฐานหรือช่วยทำให้เราได้รู้ว่ามีงานบริการเกิดขึ้น หรืออาจจะบอกว่ามันคือ proof of service

หรืออีกตัวอย่างที่เรามักเห็นบ่อยๆในยุคนี้คือ สติ๊กเกอร์แปะเมื่อเราได้รับการตรวจวัดไข้ก่อนเข้าอาคาร การมีสติ๊กเกอร์ทำให้คนในอาคารนั้น ๆ รู้สึกอุ่นใจขึ้นว่ามีการตรวจวัดเกิดขึ้น และบุคคลคนนี้ได้ “ผ่าน” การตรวจไข้และมีอุณหภูมิที่ปลอดภัยกับตัวเราแล้ว เป็นต้น

sticker ที่ไว้ติดเสื้อผ้าเพื่อบอกว่าผ่านเกณฑ์การวัดอุณหภูมิร่างกาย

เครดิตภาพ : www.thestandard.co และ www.thaipbs.or.th

หรือในอีกมุมหนึ่ง service evidence ก็สามารถเป็นหลักฐานของงานบริการจากผู้ให้บริการได้เช่นเดียวกัน โดยถูกนำมาใช้ในวงการโรงแรม หรือ luxury service อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น การพับกระดาษทิชชู่เป็นรูปสามเหลี่ยม รูปพัด หรือรูปต่างๆ เพื่อบ่งบอกว่าห้องน้ำนี้เพิ่งได้รับการทำความสะอาดไป และคุณคือคนแรกที่เข้ามาใช้จริงๆ รวมไปถึงการพับผ้าเช็ดตัวใหม่วางไว้บนเตียงนอน หรือตู้วางผ้าเช็ดตัวพร้อมกระดาษโน๊ต หรือดอกไม้ซักดอก เพื่อบอกว่าทั้งหมดนี้ได้ถูกการจัดเตรียมของใหม่ไว้เพื่อคุณแล้วนะ

เครดิตรูปภาพ : Colcord Hotel

วิธีการนำ service evidence ไปใช้ในงานบริการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1

จำเป็นต้องมี ถ้าไม่มี เรื่องใหญ่



เครดิตรูปภาพ : nuttpo.wordpress.com

คือการใช้ service evidence เพื่อเป็นหลักฐาน อันมีผลในการยืนยันสิทธิ์ของผู้ให้และรับบริการ เช่น สิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น บัตรคิว ตั๋วต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในงานบริการหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องมี service evidence ให้ครบในทุก touch point ที่จำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐาน

ถ้าไม่มี หรือมีไม่ครบ จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจที่จะไปใช้เจ้าอื่นแทน

2

ไม่มีก็ไม่ตาย (แต่ถ้ามีแล้วจะเป็นบริการที่ “ดีกว่า”)

“คุณกำลังเติมน้ำมัน เบนซิน 95” ป้ายที่วางอยู่บนหน้าฝากระโปรงรถบอกเรา ป้ายนี้อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ “จำเป็น” ต้องมี เหมือนกับ service evidence อื่นๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น ตั๋ว หรือใบจองสินค้า แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์ในการเข้าใช้บริการในปั๊มน้ำมันที่ดีขึ้น อุ่นใจมากขึ้น และยังช่วยลดขั้นตอนความผิดพลาดของพนักงานได้อีกด้วย เพราะพนักงานจะต้องหยิบป้ายให้ถูก เป็นการทวนตัวพนักงานเองอีกครั้งว่ารถคันนี้เติมน้ำมันอะไร

slip หลักฐานการโอนเงินผ่าน app เคยถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการจ่ายเงินด้วยการโอน ในช่วงที่การโอนเงินออนไลน์เริ่มเป็นที่ยอมรับ และถูกใช้ในชีวิตประจำวันแทนที่การใช้เงินสด หรือบัตรเดบิต เมื่อเราโอนเงินเสร็จแล้วเราอาจจะต้องโชว์หน้าจอให้แม่ค้าถ่ายรูปเก็บไว้ โดยหลายๆคนอาจจะไม่สะดวกใจที่จะเปิดเผยยอดเงินคงเหลือให้แม่ค้าเห็น (ในช่วงแรกๆ ที่ยังไม่มีบัญชีจ่ายร้านค้า จะยังมีการแสดงยอดเงินคงเหลือหน้า slip)
แต่ในปัจจุบัน หลายๆธนาคารก็ได้พัฒนา service evidence ที่ช่วยยืนยันการจ่ายเงินที่ดีขึ้น เช่น sync เข้ากับระบบ POS เลยและพิมพ์สลิปออกมาได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยยื่นโทรศัพท์เราให้แม่ค้าดู
หรือ แม้กระทั่งการซื้อของ online จากเดิมเราอาจจะต้องส่งรูป slip ให้กับแม่ค้า online เพื่อเป็นหลักฐานว่าเราจ่ายเงินแล้วจริงๆ แต่ในตอนนี้ platform ต่าง ๆ ที่เราใช้ในการซื้อขายของ ก็มี service ที่เข้ามาช่วยให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ดีขึ้น เช่น การมีใบ order ส่งกลับมาทันทีหลังเราโอนชำระเงิน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ แทนที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขายฝ่ายเดียว
หรือการที่มี tracking no. ของบริษัท delivery ที่รับผิดชอบการจัดส่งแสดงขึ้นมาทันทีหลังจากการสั่งของ online แทนการส่ง tracking no. หรือหลักฐานอื่นๆตามไปใน email

ถ้ามี จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจที่จะมาใช้บริการหรือยังคงอยู่กับเราต่อไป เช่น เราอาจจะเติมน้ำมันแบบเดิมๆ ป้ายที่วางหน้ารถเป็นแค่ป้ายโฆษณาก็ได้ ไม่มีใครเดือดร้อน หรือ เราจะใช้วิธีการยื่น slip โอนเงินแบบเดิมๆให้แม่ค้าดูก็ได้ ก็ยังโอเค แต่หากคู่แข่งเราพัฒนา service evidence ที่ดีกว่า ที่ตอบโจทย์ความต้องการและสร้างความมั่นใจ ความสะดวกสบายที่มากกว่าได้ ลูกค้าในมือของเราก็ก็พร้อมที่จะย้ายค่ายได้เสมอ เพราะยุคนี้แทบจะไม่มีคำว่า brand loyalty เหลืออยู่แล้ว

หากพิจารณาดูดี ๆ แล้ว ในปัจจุบันนี้ service evidence ก็เป็นอีกหนึ่งส่วน ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามการบริการที่พัฒนาแข่งกันมากขึ้นด้วยเช่นกัน จากเดิมเราอาจจะได้รับ service evidence เพื่อเป็นหลักฐานเอาไว้ยืนยันการเข้ารับบริการที่เป็นสิทธิ์ของเรา แต่ในตอนนี้กลายเป็นว่า service evidence ได้ถูกนำมาเป็นหนึ่งใน touchpoint ที่สร้างบริการที่ “ดีกว่า” ให้กับ brand ต่าง ๆ

การตั้งชื่อเพื่อให้นิยามใหม่ให้กับของเดิมๆ : อีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเปลี่ยน perception ของลูกค้า

Posted on by Tanatta Koshihadej

การคิดของใหม่แล้วตั้งชื่อให้นิยามใหม่เพื่อแนะนำหรือสื่อสารให้คนเข้าใจถึงคุณค่าหรือ function การทำงาน เป็นสิ่งที่เราเห็นได้โดยทั่วไป เช่น Heat-tech ของ Uniqlo ซึ่งเป็นเนื้อผ้าที่ใช้เทคโนโลยีพิเศษกักเก็บความร้อนที่เป็น หรือ Airism เสื้อผ้ารุ่นที่มีเทคโนโลยีระบายความร้อนพิเศษ knowhow เฉพาะของ Uniqlo

ซึ่งเมื่อมีของใหม่เกิดขึ้นก็ไม่แปลกอะไรที่จะต้องตั้งชื่อใหม่ เพื่อบอกออกไปว่า เฮ้! ฉันมีของใหม่นะ

แต่ก็จะมีบางกรณีที่เราอาจจะไม่ได้มีสิ่งใหม่ (ที่เป็นของใหม่มากพอที่จะนิยามมันขึ้นมาใหม่ได้) ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการยกมาเป็นตัวอย่างของการสร้าง perception ใหม่ให้กับของเดิม

Starbucks เปิดตัวด้วยการขายกาแฟแก้วละร้อยกว่าบาทในขณะที่ในช่วงนั้นกาแฟเป็นของที่ถูกขายเพียงแก้วละ 1 ดอลลาร์ หนึ่งในกลยุทธ์ของการสร้างประสบการณ์และยกระดับภาพจำเดิมๆของร้านกาแฟให้ดีขึ้นนั่นคือ “การตั้งชื่อเมนูและชื่อเรียกขนาดแก้วกาแฟ” ใหม่แม้มันจะมีขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ จาก S M L เป็น Tall, Grande, Venti หรือ Frappucino แทนการเรียกเครื่องดื่มปั่น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับภาพจำเดิมๆว่ากาแฟเป็นของถูกให้มากที่สุด

และนี่คือเคสที่มักถูกยกเป็นตัวอย่างเรื่องของการเปลี่ยน perception ใหม่ให้กับของที่คนคุ้นเคยเพื่อที่จะบอกว่าสิ่งที่เรากำหลังจะนำเสนอ หรือ brand ที่เรากำลังสร้างนี้มี positioning ที่แตกต่างไปจากเดิม (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น)

เรามาดูกันว่านอกจาก Starbucks แล้ว ยังมีการนิยามอะไรใหม่ๆเพื่อช่วยเปลี่ยน perception ของลูกค้าที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจหรือความรู้สึกที่ดีกับ brand มากขึ้นบ้าง

Genius และ Genius Bar ของ Apple


พนักงานขายของภายใน Apple Store จะไม่ถูกเรียกว่า sale หรือ staff แต่จะมีชื่อเรียกว่า “Genius” ซึ่งเป็นคำนิยามใหม่ที่ช่วยให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนพนักงานขายให้ข้อมูลเพื่อปิดการขาย แต่เป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์เสียมากกว่าหน้าที่การขาย ซึ่งพนักงานขายในร้านสินค้าอื่นๆหลายๆร้านก็มีหน้าที่ให้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน แต่ขาดการนิยามตำแหน่งขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้ายึดติดกับภาพจำเดิมๆ และไม่เปิดใจเท่ากับการนิยามให้ใหม่

Service Counter ของ Apple ก็เช่นเดียวกัน มันถูกเรียกว่า “Genius Bar” ทำให้ภาพลักษณ์ของจุดส่งซ่อมถูกเปลี่ยนไปเลยเช่นเดียวกัน

เรียก Money Coach แทนเจ้าหน้าที่แบงค์

คำนิยาม money coach จะถูกนำไปใช้ในหลายธนาคาร แทนการเรียกเจ้าหน้าที่ธนาคารทั่วไป เพราะว่าลูกค้าธนาคารหลายคนรู้สึกอึดอัดเมื่อจะต้องเข้าไปทำธุระกับพนักงานธนาคารที่ขาย product อื่นๆของธนาคารไปด้วย การให้นิยามใหม่ว่า money coach ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ากำลังได้คำปรึกษามากกว่าการขาย ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้พนักงานในตำแหน่งนี้รู้สึกว่าหน้าที่ของตนเองคือผู้ให้คำปรึกษามากกว่าการขายด้วยเช่นกัน (แต่ในรายละเอียดการนำไปใช้ให้เกิดขึ้นจริงก็ต้องถูกคิดมาให้ครบ เช่นหาก KPI ของ money coach ยังคงเป็นยอดขายเหมือนเดิม การตั้งชื่อตำแหน่งให้ใหม่ก็อาจจะไม่ส่งผลอะไรในระยะยาว รวมถึงอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกแย่ที่มากขึ้นจากลูกค้าอีกด้วย)

Car Master ของ Hyundai

Car Master นี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การปรับปรุง showroom ใหม่ของ Hyundai ที่ได้รับผลกระทบทางยอดขายจากการที่คนเกาหลีหันไปซื้อรถยุโรปมากขึ้น และทำให้ยอดขายของ Hyundai ตกต่ำลง ซึ่ง Car Master นี้ก็ เป็นหนึ่งใน touchpoint ที่ช่วยเปลี่ยน perception ใหม่ที่คนเกาหลีให้กับ Hyundai ให้เปลี่ยนไปภายใต้แนวทาง “Serve with Pride” ที่ถูกปรับใช้ทั้ง showroom
Continue reading “การตั้งชื่อเพื่อให้นิยามใหม่ให้กับของเดิมๆ : อีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเปลี่ยน perception ของลูกค้า”

Fellow Carter Everywhere Mug :มินิมอลไม่ใช่แค่เอาแต่เรียบ แต่ต้องดีกว่าเดิมด้วย

Posted on by Tanatta Koshihadej

คนเราจะต้องมี tumbler ซักกี่อันกัน?
เราซื้อ tumbler ไปเรื่อยๆ เพราะว่าอยากได้ไปหมดหรือเพราะเรายังไม่เจออันที่ใช่ซักที?

หลายๆคนอาจจะเป็นมนุษย์ที่มี tumbler เยอะมาก เห็นอันไหนสวยก็ซื้อไปเรื่อย ซื้อมาอาจจะเกิดอยากได้ตอนที่ซื้อ แต่พอใช้จริง ไม่เห็นมีอันไหนดีจนถูกใจได้ซักอัน อาจจะดีในมุมหนึ่งแต่ก็จะมีคำว่าแต่…อยู่ดี จนถึงวันนึงเราก็อาจจะบอกกับตัวเองว่าพอเถอะหยุดซื้อได้แล้ว มันอาจจะไม่มี tumbler ที่ตอบโจทย์ได้เยอะตามที่เราอยากได้ก็ได้

แต่ Fellow อาจจะทำให้เราเปิดใจซื้อ tumbler ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่แค่เพราะ design ที่ดูแสนจะเรียบสวย (เพราะโดนตกมาเยอะแล้วจากความสวย) แต่เป็นเพราะหลายๆส่วนที่ดูแล้วพบว่ามันน่าจะตอบ pains ทุกอย่างที่เราเคยมีมาหมดแล้วได้เยอะมาก

เรามาดูกันว่า Fellow มีดีที่ตรงไหนที่ทำให้เป็น tumbler ที่ “ดีกว่า”
มันคือการออกแบบที่  เรียบง่าย แต่แก้ปัญหาได้มาก
มากกว่าการเป็นแค่ tumbler ที่ minimal แค่รูปทรง และความสวยงาม

(disclaimer : เราวัดกันที่การเป็น tumbler สำหรับการใส่กาแฟ หากเป็นเครื่องดื่มๆอื่นๆอาจจะมีปัจจัยที่แตกต่างออกไป)

ในขณะที่ tumbler แทบทุกยี่ห้อพูดถึงเรื่องการพกพา การเก็บความร้อนความเย็นที่ยาวนาน
แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญของประสบการณ์ในการดื่มเครื่องดื่มที่ดีมากให้เทียบเท่าการดื่มจากแก้วเลย
Fellow คือ brand ที่บอกว่าจะพัฒนาประสบการณ์ของ tumbler ที่ใช้สำหรับดื่มกาแฟที่ดีที่สุด
(ถึงตั้งชื่อว่า Fellow Carter Everywhere Mug เขาไม่เรียกมันว่า tumbler ด้วยซ้ำไปแต่เรียกว่า everywhere mug)

ปากที่กว้างกว่า เพิ่มการรับรู้กลิ่น เพื่อประสบการณ์การดื่มที่ดีกว่า


Fellow
ออกแบบให้มีปากกว้าง ไม่ใช่แค่เพื่อการล้างทำความสะอาดที่ง่าย แต่เพื่อให้มันกว้างพอที่เวลาเรายกขึ้นมาแล้วปากจะครอบจมูกเราได้พอดี ทำให้เราได้กลิ่นกาแฟอย่างเต็มที่ (การได้รับกลิ่นเต็มๆขณะดื่มกาแฟมันช่วยให้กาแฟอร่อยขึ้นได้จริงๆ เพราะหากดูการรับรู้กลิ่นในการดื่มกาแฟแล้ว จะมีการรับกลิ่น 2 รูปแบบประกอบกัน คือกลิ่นอโรมาที่เกิดขึ้นเมื่อเราดื่มเข้าไปแล้ว เป็นการได้กลิ่นทางจมูกด้านในที่เชื่อมต่อกกับปากของเรา และการได้รับกลิ่นทางจมูกขณะดื่ม ซึ่ง tumbler ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นประสบการณ์ส่วนนี้เท่าไรนัก)
และแน่นอนการที่ปากกว้างนี้มีข้อดีคือเราสามารถล้างมันได้แบบมือเข้าไปได้ทั้งมือหมดห่วงเรื่องการต้องไปหาฟองน้ำพิเศษหรือทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึงไปเลย

แม้จุดนี้จะไม่ถึงขนาดกับเป็นปัญหา แต่ก็เป็นจุดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ดีกว่าการใช้ tumbler ทั่วไปได้ดีทีเดียว
มีหลายๆ brand พยายามทำรูให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อที่จะทำให้กาแฟเสียความร้อนออกไปน้อยที่สุด เก็บได้นานขึ้น
แต่อย่างที่ fellow ตั้งใจไว้ ว่าอยากจะทำให้การดื่มกาแฟจากแก้วพกพานั้นให้ประการณ์ที่ดีไม่แพ้การดื่มจากแก้ว นั่นก็เท่ากับว่าเรื่องเก็บความร้อนให้อยู่นานนั้นสำคัญรองลงมาจากประสบการณ์จากรสชาติครบทุกสัมผัส

ใช้เซรามิกเคลือบด้านใน ไม่ดูดกลิ่นติดไว้ที่วัสดุ

หากเราใช้ tumbler ที่เป็น แสตนเลส เราจะพบปัญหาอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆคือ

1 กาแฟของเราจะกลิ่นเบาลงเนื่องจากแสตนเลสจะดูดกลิ่นของกาแฟเข้าไป รวมถึงบางครั้งเราจะได้กลิ่น แสตนเลสปนมาในเครื่องดื่มอีกด้วย ที่เค้ามักจะบอกกันว่ากลิ่นเหมือน old penny (เหรียญเก่าๆ)

2 ถ้าเราใช้ไปเรื่อยๆกลิ่นก็จะตกค้าง กลิ่นจะตีกัน ยิ่งเวลาเราใส่นมเข้าไปด้วย
(ยิ่งถ้ามีส่วนประกอบของพลาสติกให้สัมผัสจะทวีคูณเรื่องการเก็บกลิ่นเข้าไปอีก)

Fellow ใช้เซรามิกเป็นตัวเคลือบผิวด้านใน ทำให้การเก็บความเย็นของแสตนแลสยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมันจะไม่ดูดกลิ่นรวมถึงการทำความสะอาดก็จะง่ายขึ้นมากด้วยเพราะเซรามืกคือวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย เอาเกลียวปิดฝาเข้าไปอยู่ด้านใน เพื่อการดื่มที่ไม่มีทางเลอะเทอะ
ซึ่ง tumbler บางรุ่น บางยี่ห้อ แค่เปิดน้ำก็หกแล้วเนื่องจากเกลียวที่อยู่ข้างนอกทำให้น้ำที่อยู่ข้างในที่กลิ้งไปกลิ้งมาตอนที่เราเดินทางไปโดนฝาด้านในและพอเราเปิดฝาออกน้ำก็ไหลจากส่วนนั้นตามเกลียวมาด้วย หรือเวลาเรายกดื่มแล้วปากเราจะต้องโดนเกลียวไปด้วย ก็ทำให้น้ำที่เราดื่มไหลตามเกลียวนั้นลงมาเช่นเดียวกัน Fellow จึงออกแบบให้เอาเกลียวปิดไว้ด้านในเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด และจากผลของการย้ายเกลียวไปด้านในนี้ก็ทำให้เราได้ประสบการณ์ที่ดีในข้อต่อไปอีกด้วย

ปากที่บางและโค้งรับริมฝีปาก เพื่อประสบการณ์การดื่มที่รื่นรมย์


ปากแก้วถูกออกแบบปากให้บาง เพื่อให้ประสบการณ์การดื่มอร่อยขึ้น รวมถึงออกแบบส่วนที่รับกับปากล่างของเราให้โค้งรับได้อย่างพอดี  นับเป็นรายละเอียดเล็กๆที่เฉือนให้เกิดการออกแบบที่ดีกว่าการทำให้เป็นเส้นตรงลงไปเฉยๆ และยังไม่ทำให้เกิดซอกเล็กๆที่จะเก็บคราบสกปรกอีกด้วย

แต่ทั้งนี้ข้อเสียของ Fellow ใช่ว่าจะไม่มีเลย ด้วยการออกแบบปากให้กว้าง ก็มาพร้อมกับขนาดที่จะอ้วนกว่าปกติ ทำให้คนมือเล็กอาจจะไม่ถนัดในการหยิบจับ แต่ Fellow ก็แสดงให้เห็นว่าเขาคิดมาแล้วเหมือนกันนะตรงที่ใช้การพ่นทรายหยาบเป็น texture ให้เราหยิบได้แน่นกระชับมือขึ้น การออกแบบที่ดีไม่ใช่แค่สวย แต่ต้องตอบโจทย์การใช้งานให้ได้จริงๆ
และที่มากไปกว่านั้น Fellow ยังคิดถึงประสบการณ์อื่นๆตั้งแต่ก่อนเราเทกาแฟใส่แก้ว นั่นก็คือการทำกาแฟ 
Fellow ยังมีอุปกรณ์ดริปที่สามารถนำมาประกอบเข้ากับตัว tumbler และยกออกปิดฝาได้เลยโดยไม่ต้องเทไปเทมาอีกด้วย

และนี่คือตัวอย่างของคำว่า “น้อยแต่มาก” ที่ดีอีกอันหนึ่ง ผ่านของที่เราสามารถสัมผัสได้ง่ายๆใกล้ตัว