Month: March 2020

ประสบการณ์ การตรวจ Covid-19 แบบ Drive-Thru ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

Posted on by Piraya Ruangpungtong

เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากเป็นคนกลุ่มเสี่ยง จนต้องไปตรวจโควิดหรอก แต่ถ้าพบว่าคนใกล้ตัวเป็นขึ้นมา หรือถ้ามีอาการ เราก็คงอยากเลือกที่ตรวจที่ปลอดภัย ที่ไม่รู้สึกว่าเรากำลังไปแพร่เชื้อให้ใคร หรือไม่ก็ไม่อยากเอาตัวเองไปเสี่ยงติดจากที่ตรวจ

หลายคนจึงเลือกใช้บริการตรวจโควิดแบบ Drive-Thru ที่มีหลายโรงพยาบาลเปิดให้บริการอยู่ ซึ่งแปลว่าผู้รับการตรวจไม่ต้องลงจากรถเลย เราขอแชร์ประสบการณ์การตรวจที่คิดว่าดี ในแง่ความสะดวกรวดเร็วและสร้างความมั่นใจที่สุด จากรพ.ธนบุรี บำรุงเมือง
มาดูกันว่า ประสบการณ์ตรวจ Covid แบบ Drive-Thru ที่ว่าดีนั้น เป็นอย่างไร Continue reading “ประสบการณ์ การตรวจ Covid-19 แบบ Drive-Thru ที่ดี ควรเป็นอย่างไร”

7 ไอเดียการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจร้านอาหารช่วง Covid19

Posted on by Tanatta Koshihadej

ช่วงมีคำสั่งให้ปิดห้างประกาศออกมาใหม่ๆ ทุกร้านอาหารผันตัวเองมาให้บริการ delivery กันเกือบหมด ไม่ว่าร้านที่ปกติจะแพงหรือต้องขายพ่วง experience มากแค่ไหน ก็จัดส่งให้ถึงบ้านคุณ
Continue reading “7 ไอเดียการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจร้านอาหารช่วง Covid19”

Design Ladder : ขั้นบันไดแห่งการใช้ design ในธุรกิจ

Posted on by Tanatta Koshihadej

รู้หรือไม่ว่า design ถูกแบ่งระดับในการใช้ ได้เป็น 3 ระดับใหญ่ๆ (ไม่นับระดับ 0)
Continue reading “Design Ladder : ขั้นบันไดแห่งการใช้ design ในธุรกิจ”

การสื่อสารที่ดีจากรัฐบาล เขาออกแบบกันอย่างไร?

Posted on by Tanatta Koshihadej

เราอยากแชร์ตัวอย่างการสื่อสารกับประชาชนภายในประเทศที่ดีให้ทุกคน รวมถึงถอดรหัสคร่าวๆให้อ่านในมุมของการออกแบบกลุยทธ์การสื่อสาร (communication strategy) ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันต้องใช้การออกแบบจริงๆ และการออกแบบที่ว่านี้ “ไม่ใช่” การออกแบบว่าด้วยความสวยงาม แต่เป็นการออกแบบเพื่อประสิทธิภาพของการสื่อสารที่ดีที่สุด อันประกอบมาจาก การเข้าใจเรื่องที่ประชาชนต้องการทราบ การรู้ว่าทำอย่างไรให้กระชับได้ใจความที่สุด ควรสื่อสารด้วยรูปประโยคแบบไหน แล้วค่อยว่าด้วยการจัดการออกแบบ visual ว่าควรจะหน้าตาอย่างไรจึงจะเหมาะสม

note : ในที่นี้เรายกตัวอย่างการสื่อสารในฐานะรัฐบาลต่อประชาชนในประเทศ ไม่ใช่ตัวบุคคลของนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี และ article นี้จะยกตัวอย่างเพียงการออกแบบการสื่อสารของรัฐ ไม่หมายความรวมถึงเนื้อความของมาตรการหรือนโยบายนะคะ
Continue reading “การสื่อสารที่ดีจากรัฐบาล เขาออกแบบกันอย่างไร?”

Guss Damn Good : media ใหม่ที่กินได้

Posted on by Tanatta Koshihadej

เราเชื่อว่า Guss Damn Good คงเป็นไอศครีมเจ้าโปรดในดวงใจของหลายๆคน
นอกจากความอร่อยที่ลงตัว คุณภาพที่ไม่ประนีประนอมหรือไม่พยายามลดต้นทุนแล้วนั้น
creative communication ก็เป็นอีกความโดดเด่นที่อยู่ในทุกมุมของ Guss Damn Good ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อ การออกแบบเมนู เรื่องราวต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เราประทับใจเป็นอย่างมาก จนต้องขอเขียนถึงซะหน่อย…
Continue reading “Guss Damn Good : media ใหม่ที่กินได้”

หา insight อย่างไรให้ได้ insight จริงๆ

Posted on by Tanatta Koshihadej

ก่อนที่เราจะพูดถึงเรื่องวิธีการหากันนั้น
ขออธิบายความหมายของ insight เพื่อให้เราเข้าใจกันได้ตรงกันก่อนดีกว่า
“insight” แปลเป็นไทยว่า “ความต้องการเชิงลึก”
(โอ้โห ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจขึ้นเลย อาจจะงงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ) Continue reading “หา insight อย่างไรให้ได้ insight จริงๆ”

เมื่อรส(ของ)ชาติ กลายมาเป็นของฝาก ของที่ระลึก Meia.Duzia : Protuguese Flavours Experience

Posted on by Tanatta Koshihadej

ขณะที่เราเดินท่องเที่ยวอยู่ในเมือง Porto สายตาก็กวาดไปมาสำรวจเมืองและร้านรวงรอบตัว ไปสะดุดที่ป้ายบนซุ้มประตูเล็กๆบานหนึ่ง เขียนไว้ว่า “Protuguese Flavours Experience”

พอมองเข้าไปในร้าน เห็นหลอดสีเต็มไปหมดมากมาย
หลอดสีเหล่านั้นบรรจุตัวแทนรสชาติของชาติโปรตุเกสต่างๆ

ทั้งหวาน : แยมรสจากผลไม้ของชาติ น้ำผึ้งกลิ่นต่างๆ และช็อคโกแลตรสชาติต่างๆ โดยวัตถุดิบทั้งหมดมาจากผลผลิตภายในประเทศและยุโรป เช่น Bravo de Esmolfe apple, Azores pineapple and Rocha pear และ

ทั้งคาว : พวก paste มะกอก ฟักทอง และอื่นๆ

มันคือการเพิ่มมูลค่าในแบบที่ไม่ใช่แค่เอาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาเปลี่ยน packaging ใหม่ แต่เป็นการขายสินค้าของฝากแบบขายทั้ง experience ให้แก่คนซื้อและคนที่ได้รับของ

ประสบการณ์การเลือกซื้อของในร้านไม่เหมือนร้านของฝากทั่วไปที่ขายแยมเป็นของฝาก แต่เหมือนคุณกำลังเดินอยู่ในร้าน Nespresso หรือร้านขายสี painting
ด้วยการจัดวางการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งที่ลูกค้ารู้สึกเมื่อเห็นคือ

:: อยากรู้ว่ามีรสอะไรบ้าง ::
(จากการที่มีสีเยอะมาก และถูกจัดวางแบบเลือกไล่สีได้สวยงาม)

:: อยากลองชิม ::
(เพราะดูมีรสละลานตา พออ่านดูพบว่ามันไม่ใช่รสแบบแยมทั่วไปที่เราพบเจอ แต่เป็นรสที่ blend ขึ้นมาใหม่ เช่น passion fruit jam with ginger, strawberry jam with port wine and chilli ซึ่งลองชิมแล้วอร่อยมากด้วย)

http://www.meiaduzia.pt/en/products


ภายในร้านมี station สำหรับลองชิมมาให้ชิมได้ทุกรส (ติอย่างเดียวในเรื่องของความ hygenic ที่อาจจะดูมีไม่มากนักคือทุกคนจะมีช้อนชิม และพนักงานจะบีบแยมลงบนช้อนให้ ซึ่งต้องปาดปากหลอดลงบนช้อนชิม)

:: อยากซื้อฝาก ::
(ด้วย packaging ที่สวยงาม และมีซองของขวัญให้เราไปจัดการห่อเองต่อได้อีกด้วย)

http://www.meiaduzia.pt/en/products/pack-experience-meia-duzia

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาสินค้า ไม่ใช่ทำแค่เพียง packaging แล้วจบ หรือทำ brand (แค่ส่วนออกแบบ) แล้วจบแต่ต้องสร้างสิ่งที่จะขาย เรื่องราว ที่มาที่ไป แล้วค่อยแปลสิ่งนั้นออกมาเป็น brand visual เพื่อให้ช่วยส่งเสริมสิ่งที่ต้องการจะขาย เรื่องที่ต้องการจะเล่า มันจะขยายไปสู่การออกแบบประสบการณ์ทั้งหมดให้อยู่ภายใต้  brand เดียวกัน ส่งเสริมกันให้เกิดเป็นประสบการณ์ที่ดีที่แตกต่างและเฉพาะตัว เช่น รสชาติที่ผสมระหว่าง traditional+contemporary การใช้สีที่ช่วยให้ความหลากหลายของสินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น การออกแบบ packaging ที่ส่งเสริมเรื่องของสีและรสชาติที่หลากหลายเหมือนกับหลอดสีที่ต้องบีบออกมา รวมไปจนถึงการเลือกสีใส่กล่องตาม size ของ packaging รวมต่างๆ ช่วยกระตุ้นการซื้อจำนวนที่มากขึ้นได้ รวมถึง travel pack ขนาดเล็กสำหรับคนรีบซื้อไม่มีเวลาเลือก เป็นต้น

สมัยนี้สร้าง brand ไม่พอแล้วนะ ต้องสร้างประสบการณ์ด้วย

ในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ใช้ Service Design อย่างไรดี

Posted on by Tanatta Koshihadej

ในช่วงเศรษฐกิจซบเซาลูกค้าหาย หลายๆธุรกิจเป็นช่วงงานน้อย งานเลื่อน เราควรใช้ช่วงเวลานี้ในการทำอะไรดีเพื่อไม่ให้สูญเปล่า
.
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งในการการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริการ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาของลูกค้าให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น
.

แล้วการจะพัฒนาบริการต้องเริ่มจากที่ไหน?
ต้องทำยังไง?
.

เราขอแนะนำวิธีการง่ายๆ ที่เจ้าของธุรกิจสามารถทำได้เอง ดังนี้


1
“รวบรวม”


รวบรวม comment ต่างๆจากลูกค้าของคุณจากทุกช่องทาง

ไม่ว่าจะเป็น online review ต่างๆ บน page ใต้ภาพใน instagram ทั้งคำชมคำติ
และคนที่เก็บ comment ของลูกค้าที่ดีที่สุดอีกที่คือ “พนักงาน” ของเรานั่นเอง

ที่ผ่านมาคุณอาจจะไม่เคยมีเวลาถามหรือได้พูดคุยกับพนักงานมากนัก เพราะอาจจะวุ่นมากๆ
แต่ใช้โอกาสช่วงนี้ลองพูดคุยถามไถ่ พฤติกรรม ปัญหาของลูกค้าที่มีบ่อยๆจากพนักงานดูสิ

นอกจาก comment จากลูกค้าแล้ว ลองถาม comment จากพนักงานดูบ้าง ว่าพวกเขาอยากให้พัฒนาตรงจุดไหน มีอะไรที่ทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้นบ้าง

เชื่อหรือไม่ว่าพวกเขาพร้อมจะบอกเราเสมอแต่เราเองที่อาจจะไม่เคยพร้อมที่จะฟัง…

หลังจากนั้นให้นำทุก comment มาแปะลงผนังใหญ่ๆซักอัน ให้เราสามารถเห็นได้ทุก comment พร้อมๆกัน (ถ้าไม่ถนัดงาน manual ก็ลอง apply ทำบนหน้าจอก็ได้นะ แต่ที่สำคัญ แยก 1 comment 1 แผ่น)


2
“จัดการ”


จับกลุ่มของ comment เรื่องเดียวกัน เอาไว้ด้วยกัน

เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า จาก comment จำนวนมากนั้น สรุปแล้วมีพูดอยู่กี่เรื่อง

แปะหัวข้อเอาไว้บนแต่ละกลุ่ม จะช่วยให้เราเห็นทั้งหัวข้อรวมว่ามีเรื่องอะไรบ้าง และแต่ละเรื่องมีคนพูดถึงมากน้อยแค่ไหนจากปริมาณ comment ที่เราแปะเอาไว้


3
“หาทาง”


ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้น
แต่ถ้าอยากเพิ่ม challenge หรืออยากได้ solution ใหม่ๆ
ลองตั้งกฏว่า ห้ามเอาวิธีการเดิมๆที่เคยทำมา หรือที่ใครๆก็ทำกัน
ให้หาทางใหม่ๆ ยังไม่ต้องคิดว่าทำได้หรือไม่ คิดไปก่อน แล้วค่อยมาหาวิธีดัดแปลงต่อไป (ไม่อย่างนั้นจะไม่มีวันเกิดอะไรใหม่ๆขึ้นได้)

หลังจากนั้นเราอาจจะมีไอเดียจำนวนมาก เราก็ทำการเลือกไอเดียที่เหมาะสม
โดยการดูว่าควรทำอันไหนก่อนแล้วจะเกิดผลดีต่อธุรกิจที่สุด ใช้เงินลงทุนน้อยสุด และทำให้เกิดได้ในเวลาเร็วที่สุด ซึ่งช่วงนี้เป็นเหมือนการวางแผนกลยุทธ์แบบย่อมๆ ว่าทำอะไรก่อนหลังลำดับอย่างไรถึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด


4
“ลงมือ”

หาวิธีทำให้มันเกิดขึ้น!!!!!!!

แต่อย่าลืมว่า มันไม่จบแค่นี้ เราต้องคอยปรับแก้ตลอดกว่าจะเข้าที่ ไม่มีอะไรที่จะดี หรือเข้าที่ได้ในครั้งเดียวหรอก เราต้องพัฒนาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง หากใครทำมาเรื่อยๆอยู่แล้วช่วงนี้นับเป็นช่วงที่คุณจะให้เวลาได้มากกว่าที่เคย ส่วนใครที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ขอให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่คุณจะได้เริ่มต้น

เพราะเราเชื่ออย่างมากว่า ถ้าคุณหยุดพัฒนาเท่ากับกว่าคุณกำลังถอยหลัง เพราะคู่แข่งของคุณกำลังไปข้างหน้าอยู่ตลอด

4 ขั้นตอนนี้เหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาๆแต่สำคัญมาก ซึ่งเมื่อเรางานยุ่งเป็นปกติ อาจมองข้ามและเก็บเป็นสิ่งไว้ทำทีหลัง แต่เป็นโอกาสที่ดี ที่จะใช้ช่วงเวลางานน้อยช่วงนี้ ซุ่มพัฒนาปรับโฉมให้คู่แข่งยากที่จะตาม

หากยังรู้สึกว่ายากไปหรือเริ่มยังจับต้นชนปลายไม่ถูก สามารถมาเจอและปรึกษาพวกเราชาว the Contextual ได้ที่โครงการ Change SMEs เปลี่ยนแล้วรวยจัดโดย TCDC

หรือรออีกนิด…ภายในปีนี้เราจะมี public course ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่รับรองว่าสนุกและไม่เคยได้เรียนจากที่ไหนมาก่อนแน่นอน  ฝากติดตามด้วยนะคะ^^

หรือหากใครสนใจไม่อยากพลาดช่วง early bird ทิ้ง contact ไว้ให้เราติดต่อก่อนใครได้ที่
https://thecontextual.com/contact