“บ้านฮาวด์” Greyhound เปิดแบรนด์ใหม่เอาใจคนอยู่บ้านโดยเฉพาะ
ช่วง Shock ขั้นแรก จากวิกฤติ Covid-19 กับธุรกิจต่างๆเริ่มกำลังจะผ่านไป เรากำลังจะเห็นผลลัพธ์จากบางธุรกิจที่ผ่านการใช้เวลาช่วงแรกในการตั้งรับปรับตัว
ในช่วงของการปรับตัวเราเห็นร้านอาหารมากมายกระโดดเข้ามาในบริการ Delivery ซึ่งน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เราจะจัดการ delivery อย่างไรให้ดึงดูด ให้ตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า รสชาติที่ส่งไปนั้น มันจะต้อง drop ลงอย่างแน่นอน และบรรยากาศรวมถึงภาพลักษณ์ของอาหารก็จะ drop ตามกันไปหมด หลายๆร้านจึงออกตัวด้วยการ “ลดราคา” เพื่อช่วยทั้งตอบโจทย์การแข่งขัน และเพือชดเชยกับทั้งรสชาติและบรรยากาศ ประสบการณ์ที่มาที่ร้าน
เราจะเห็นเจ้าที่ขายดีเทน้ำเทท่า เพราะสร้างกลยุทธ์การลดราคาได้น่าสนใจ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าการเอาเมนูที่ขายในร้านมาลดกระหน่ำนั้น จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของร้านต่อไปในช่วง post Covid-19 หรือไม่ อย่างไร
เราเฝ้ามองการปรับตัวการแก้ปัญหาของร้านอาหารต่างๆ จนมาช่วงนี้เราเริ่มจะเห็นการปรับตัวที่เหมือนได้ “ตั้งสติ” คิดไตร่ตรอง วางแผน ออกมากันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “บ้านฮาวด์” (BaanHound) ที่ฟังชื่อก็รู้กันเลยว่าของ brand ไหน (ตั้งชื่อได้ดีเสมอมา)
วันนี้อยากชวนมาดูกลยุทธ์ที่ บ้านฮาวด์ หรือ Greyhound ใช้กัน …
ก่อนหน้านี้จะเห็นว่าช่วงแรก Greyhound ปรับตัวเหมือนร้านอื่นๆ นั่นคือการลดราคา ลดถึง 20% แถมยังสะสมบัตรสมาชิกและแลกรับสิทธิ์ได้เหมือนเดิม (อีกเรื่องหนึ่งที่ควรชื่นชมคือทำระบบ member ได้ดีจริงๆ ดึงลูกค้าได้อยู่มากๆ) เชื่อว่าระหว่างนั้นทางทีมหลังบ้านก็คงจะวุ่นมากที่จะคิดทำ บ้านฮาวด์ ออกมาก
บ้านฮาวด์ นำเสนออาหารจานง่ายๆบ้านๆ (อาหารง่ายๆที่เราทำให้ครอบครัวกิน) มาในรูปแบบอาหารจานเดียวเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายป้องกันไวรัส ราคาถูกกว่าในเมนูของร้านค่อนข้างมากกว่า 50% (เริ่มต้นที่ 75.-)
แต่ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ คือ บ้านฮาวด์ ไม่ได้ตอบโจทย์แค่เพียงลูกค้าที่ต้องการอาหารรสชาติที่อร่อยคุ้นปาก แต่ทำอย่างไร ไม่ให้ร้านเสียภาพลักษณ์เนื่องจากการลดราคา ให้ได้ด้วย Greyhound เลือกที่จะเปิด brand “บ้านฮาวด์” ขึ้นมา เพื่อตอบกลุ่มเป้าหมายใหม่นี้ โดยไม่ทำให้ brand เดิมเสียเลย
ความท้าทายที่มีเข้ามาก็คือ การสร้าง brand ใหม่อีกอัน เป็นเรื่องที่เหนื่อย แต่สำหรับร้านที่เชี่ยวชาญในการทำ brand อย่าง Greyhound ก็คงไม่ใช่เรื่องยากเท่าไรนัก
หลายคนอาจจะบอกว่า ตอนนี้เอาตัวให้รอดก็จะแย่อยู่แล้ว จะมาสร้าง brand หรือคือถึงภาพลักษณ์อะไรกันอีกบ้าหรือเปล่า กลยุทธ์หรือวิธีการการนี้ไม่ใช่ใครก็ทำได้ แต่ต้องเป็น brand ที่แข็งแรงระดับหนึ่ง ซึ่งนี่คือเหตุผลข้อใหญ่ ว่าการมี brand ที่ดี ชัดเจน ก็เปรียบเสมือนการมีรากฐานที่แข็งแรงพร้อมที่จะต่อยอดไปได้ แม้เจอแรงพายุโหมกระหน่ำ
ขอบคุณภาพจาก FB : Baan Hound
Tanatta Koshihadej
Service Design Director, the Contextual และ อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย