เมื่อรส(ของ)ชาติ กลายมาเป็นของฝาก ของที่ระลึก Meia.Duzia : Protuguese Flavours Experience

ขณะที่เราเดินท่องเที่ยวอยู่ในเมือง Porto สายตาก็กวาดไปมาสำรวจเมืองและร้านรวงรอบตัว ไปสะดุดที่ป้ายบนซุ้มประตูเล็กๆบานหนึ่ง เขียนไว้ว่า “Protuguese Flavours Experience”

พอมองเข้าไปในร้าน เห็นหลอดสีเต็มไปหมดมากมาย
หลอดสีเหล่านั้นบรรจุตัวแทนรสชาติของชาติโปรตุเกสต่างๆ

ทั้งหวาน : แยมรสจากผลไม้ของชาติ น้ำผึ้งกลิ่นต่างๆ และช็อคโกแลตรสชาติต่างๆ โดยวัตถุดิบทั้งหมดมาจากผลผลิตภายในประเทศและยุโรป เช่น Bravo de Esmolfe apple, Azores pineapple and Rocha pear และ

ทั้งคาว : พวก paste มะกอก ฟักทอง และอื่นๆ

มันคือการเพิ่มมูลค่าในแบบที่ไม่ใช่แค่เอาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาเปลี่ยน packaging ใหม่ แต่เป็นการขายสินค้าของฝากแบบขายทั้ง experience ให้แก่คนซื้อและคนที่ได้รับของ

ประสบการณ์การเลือกซื้อของในร้านไม่เหมือนร้านของฝากทั่วไปที่ขายแยมเป็นของฝาก แต่เหมือนคุณกำลังเดินอยู่ในร้าน Nespresso หรือร้านขายสี painting
ด้วยการจัดวางการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งที่ลูกค้ารู้สึกเมื่อเห็นคือ

:: อยากรู้ว่ามีรสอะไรบ้าง ::
(จากการที่มีสีเยอะมาก และถูกจัดวางแบบเลือกไล่สีได้สวยงาม)

:: อยากลองชิม ::
(เพราะดูมีรสละลานตา พออ่านดูพบว่ามันไม่ใช่รสแบบแยมทั่วไปที่เราพบเจอ แต่เป็นรสที่ blend ขึ้นมาใหม่ เช่น passion fruit jam with ginger, strawberry jam with port wine and chilli ซึ่งลองชิมแล้วอร่อยมากด้วย)

http://www.meiaduzia.pt/en/products


ภายในร้านมี station สำหรับลองชิมมาให้ชิมได้ทุกรส (ติอย่างเดียวในเรื่องของความ hygenic ที่อาจจะดูมีไม่มากนักคือทุกคนจะมีช้อนชิม และพนักงานจะบีบแยมลงบนช้อนให้ ซึ่งต้องปาดปากหลอดลงบนช้อนชิม)

:: อยากซื้อฝาก ::
(ด้วย packaging ที่สวยงาม และมีซองของขวัญให้เราไปจัดการห่อเองต่อได้อีกด้วย)

http://www.meiaduzia.pt/en/products/pack-experience-meia-duzia

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาสินค้า ไม่ใช่ทำแค่เพียง packaging แล้วจบ หรือทำ brand (แค่ส่วนออกแบบ) แล้วจบแต่ต้องสร้างสิ่งที่จะขาย เรื่องราว ที่มาที่ไป แล้วค่อยแปลสิ่งนั้นออกมาเป็น brand visual เพื่อให้ช่วยส่งเสริมสิ่งที่ต้องการจะขาย เรื่องที่ต้องการจะเล่า มันจะขยายไปสู่การออกแบบประสบการณ์ทั้งหมดให้อยู่ภายใต้  brand เดียวกัน ส่งเสริมกันให้เกิดเป็นประสบการณ์ที่ดีที่แตกต่างและเฉพาะตัว เช่น รสชาติที่ผสมระหว่าง traditional+contemporary การใช้สีที่ช่วยให้ความหลากหลายของสินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น การออกแบบ packaging ที่ส่งเสริมเรื่องของสีและรสชาติที่หลากหลายเหมือนกับหลอดสีที่ต้องบีบออกมา รวมไปจนถึงการเลือกสีใส่กล่องตาม size ของ packaging รวมต่างๆ ช่วยกระตุ้นการซื้อจำนวนที่มากขึ้นได้ รวมถึง travel pack ขนาดเล็กสำหรับคนรีบซื้อไม่มีเวลาเลือก เป็นต้น

สมัยนี้สร้าง brand ไม่พอแล้วนะ ต้องสร้างประสบการณ์ด้วย

Tanatta Koshihadej

Service Design Director, the Contextual และ อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Learn more about our services.

SERVICE MENU